ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม

ช่วยค้นหาศัพท์และนิยามศัพท์วิชาการในสาขาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ประชากรศาสตร์ และสถิติ โดยคณะทำงานนิยามศัพท์ฯ ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

คำนำบันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2558บันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2547

search

a | b | c | d | e | f | g | h | i | j | k | l | m | n | o | p | q | r | s | t | u | v | w | x | y | z |

| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |
 

วิธีวิจัยแบบผสม

mixed method

การดำเนินการวิจัยโดยบูรณาการแนวทางเชิงคุณภาพ (qualitative approach) กับแนวทางเชิงปริมาณ (quantitative approach) เข้าด้วยกันในโครงการวิจัยเรื่องเดียวกัน เป้าหมายคือเพื่อให้ได้ผลการวิจัยที่ชัดเจน และตอบโจทย์การวิจัยได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์
 
การทำวิจัยแบบผสมเริ่มเป็นที่รู้จักในวงการวิจัยทางสังคมศาสตร์ในทศวรรษ 1990 เมื่อ Abbas Tashakkori and Charles Teddlie พิมพ์หนังสือ Mixed methodology: Combining qualitative and quantitative approaches ออกเผยแพร่ครั้งแรกในปี 1998  วิธีวิจัยแบบผสมมีแนวทางดำเนินการได้ 3 แบบ คือ
  1. ทำการวิจัยเชิงคุณภาพก่อน ในลักษณะที่เป็นการนำร่องเพื่อนำไปสู่การทำวิจัยเชิงปริมาณที่จะตามมาในภายหลัง ผลการวิจัยเชิงคุณภาพในกรณีนี้มุ่งให้ได้ความรู้ที่จะช่วยในการสร้างสมมติฐานที่ดี ซึ่งจะมีลักษณะเป็นสมมติฐานที่เกิดจากข้อมูล (grounded in the data) ไม่ใช่เกิดจากทฤษฎี (grounded in theory) เพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ผลการศึกษาเชิงคุณภาพยังจะช่วยให้แนวทางในการสร้างแบบสอบถามที่เหมาะสมสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณที่จะตามมาด้วย
  2. ทำการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณไปพร้อมกัน โครงการวิจัยที่ดำเนินการเช่นนี้อาจใช้นักวิจัยที่มีความถนัดเฉพาะทางมาทำงานร่วมกัน และในทางปฏิบัติการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณอาจเน้นหาคำตอบสำหรับคำถามการวิจัยบางข้อของโครงการวิจัยเรื่องเดียวกัน ซึ่งเหมาะที่จะตอบได้ด้วยข้อมูลแต่ละประเภท เมื่อได้คำตอบแล้วจึงนำมาสังเคราะห์เข้าด้วยกันเพื่อตอบโจทย์การวิจัยโดยรวม
  3. ทำการวิจัยเชิงปริมาณก่อน แล้วจึงตามด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพที่มุ่งหาคำอธิบายเชิงลึกให้แก่ประเด็นข้อค้นพบที่ไม่สามารถตอบได้ชัดเจนด้วยข้อมูลเชิงปริมาณเพียงอย่างเดียว
  4. การทำวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีแบบผสมเป็นกลยุทธ์สำคัญ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของข้อมูลและผลการศึกษา (triangulation)
 
ปรับปรุงล่าสุด 03/09/2564

ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม www.popterms.mahidol.ac.th
Copyright © Institute for Population and Social Research, Mahidol University
webmaster : prwww@mahidol.ac.th
Revised: Year 2015